วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

@การใช้อินเตอร์เพื่อการศึกษา@

 

                            การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา                  




    การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษามีความ หมายครอบคลุมกิจกรรมด้านการศึกษาที่ถูกวางรูปแบบโดยครูผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากรูปแบบการสื่อสารและการควบคุมนักเรียนทางไกลแบบ Online มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากการเรียนการสอนในห้องเรียนซึ่งทำกันเป็นปกติ ดังนั้นเป้าหมายของการศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ตจึงประกอบด้วยวัตถุประสงค์หลัก 3ประการ ได้แก่





  1. การสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้เหมาะสมกับระดับผู้เรียน
  2. การเสริมทักษะและความรู้เพื่อให้ครูสามารถดำเนินการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. การกำหนดเป้าหมายการศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน


 การสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


กิจกรรมการศึกษาในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถแสดงความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่าง ๆ เพราะจำนวนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษามีความสัมพันธ์กันในอัตราส่วนที่ลดลงโดยพบว่าขั้นพื้นฐานจะมีจำนวนประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตมาก จำนวนของผู้ใช้ที่มีทักษะ หรือความสามารถในการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตกลับมีจำนวนที่ลดลง
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้วิธีการที่จะสร้างให้มีกิจกรรมเพื่อการศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างได้ผล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการวางแผนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เป็นบริการสาธารณูปโภคของประเทศที่มีประสิทธิภาพให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในเวลาอันรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้รับการสนับสนุนจากทบวงมหาวิทยาลัย (Uninet) ส่วนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาก็ได้รับการสนับสนุนจาก Schoolnet Thailand เช่นกัน


 การบริการอินเทอร์เน็ตระดับพื้นฐาน

                   แต่ละขั้นจะมีรูปแบบของกิจกรรมการศึกษาที่แตกต่างกัน การใช้ระบบเครือข่ายระดับพื้นฐานคือการใช้อินเทอร์เน็ตตามโครงสร้างของสาธารณูปโภคที่มีใช้กันอยู่ในทุกแห่ง สาเหตุที่จะทำให้ กลุ่มผู้ใช้ที่ยังไม่รู้จักเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนเจตคติมายอมรับเพื่อเข้าร่วมในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตน่าจะเป็นเพราะความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคคล และความสามารถของอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทั่วโลกด้วยเวลาอันรวดเร็ว
ด้วยเหตุนี้จึงสามารถแบ่งบริการที่มีอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ว่า
    • เป็นบริการด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลต่อกลุ่มบุคคล
    • เป็นบริการเพื่อการเข้าถึงแหล่งข้อมูล
      การใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันที่สามารถนำมาเป็นตัวอย่างได้แก่ การใช้ e-mail ในการสื่อสารระหว่างบุคคล การใช้ WWW เพื่อสืบหาและเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ

อ้างอิง    http://www.hostedtest.com/TakeTest.asp
               http://www.emarketer.com/estats   




วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

สุขบัญญัติแห่งชาติ



                            สุขบัญญัติแห่งชาติ                                   

     สุขบัญญัติ 10 ประการ คือ ข้อกำหนดที่เด็ก และเยาวชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย เพราะผู้ที่ปฏิบัติตาม สุขบัญญัติ 10 ประการ จะเป็นคนมีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง มีสมรรถภาพในการเรียน การทำงาน และ สุขบัญญัติ 10 ประการ ยังช่วยให้มีภูมิต้านทานโรค ไม่เจ็บป่วยง่าย ๆ ด้วย


        เนื้อหาใน e-book ประกอบด้วย

  • สุขบัญญัติแห่งชาติข้อ1-10 
  • วิธีปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ
  • เคล็ดลับในการดูแลสุขภาพ
  • การประเมินพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ

     http://www.sukabanyad.com/ebook/e-book_sukkabanyad.html

 



วิธีเข้าและดู e-book


คลิกลิงค์ >>> http://www.sukabanyad.com/ebook/e-book_sukkabanyad.html

เมื่อคลิกแล้ว จะพบกับe-book ที่มีหน้าตาแบบนี้



เมื่อต้องการเปิดหน้าถัดไป ใหห้คลิกที่ปุ่ม ดังภาพ




ตัวอย่าง

 
 

 

อ้างอิง

 - กระทรวงสาธารณสุข

- http://www.sukabanyad.com/ebook/e-book_sukkabanyad.html











วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข

ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล เป็นการนำระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในกิจการต่างๆ ของโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถดำเนินการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตรงตามเป้าหมายหลักของโรงพยาบาล พร้อมทั้งสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในทุกขั้นตอน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

           ประกอบด้วยระบบสารสนเทศ 2 ชนิดระบบ

1. ระบบสารสนเทศทางคลินิก(Clinical information system)

เป็นระบบการจัดการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แพทย์และพยาบาลจะใช้ระบบนี้ในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยเพื่อใช้ในการวางแผนการนำไปใช้ และการประเมินการดูแลผู้ป่วย
ตัวอย่าง
  • ระบบสารสนเทศทางการแพทย์

                        1.บัททึกข้อมูลทางการพยาบาล
                      2.มีความยืดหยุ่นในการใช้ระบบเพื่อดูข้อมูลและเก็บรวบรวมสารสนเทศที่จำเป็นทำให้มีการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพ 
  • ระบบติดตาม (Monitor system)

 
1.เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดทางชีวภาพแบบอัตโนมัติในหน่วยวิกฤต และหน่วยเฉพาะโรค
2.รูปแบบของระบบติดตาม
  • การเตือนเมื่อพบสิ่งที่ผิดปกติ

1.ระบบติดตามแบบเคลื่อนที่
2.การบันทึกสิ่งค้นพบที่ผิดปกติ
3.สามารถถ่ายโอนข้อมูลผู้ป่วยเข้าไปสู่ระบบอื่นได้ เพื่อที่จะได้มีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
    
  • ระบบห้องปฏิบัติการ (Laboratory system)


1.บันทึกข้อมูลผลการตรวจต่างๆ ทางห้องปฏิบัติการ
2.สามารถเข้าถึงผลการตรวจได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น
3.ช่วยลดความผิดพลาดในการายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกิดจากคน ตัวอย่าง เช่น ระบบฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา  

  • ระบบรังสี (Radiology system)



1.เก็บข้อมุลเป็นภาพดิจิตอลแทนฟิล์มรังสีแบบเดิม
2.สามารถเข้าถึงข้อมูลภาพทางรังสีได้อย่างรวดเร็วขึ้น
3.สามารถส่งต่อภาพรังสีไปยังแหล่งอื่นๆ เพื่อส่งต่อการรักษาไปยังโรงพยาบาลอื่น ตัวอย่าง เช่น ระบบฐานข้อมูล x-ray ของโรงพยาบาลศิริราชระบบ SIPACS  

  • ระบบเภสัชกรรม (Pharmacy system)


1.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยา
2.สามารถเข้าถึงประวัติผู้ป่วยและการให้ยาได้ รวมทั้งประวัติการแพ้ยาและข้อมุ,ส่วนบุคคล
3.ช่วยแพทยืในการตัดสินใจว่ายาตัวไหนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
4.การคำนวณการใช้ยา ค่าใช้จ่ายและออกใบเสร็จรับเงิน 


2. ระบบสารสนเทศทางการบริหาร(Administrative information system)

ตัวอย่าง 

  • ระบบการลงทะเบียนผู้ป่วย
  • ระบบการเงิน
  • ระบบเงินเดือนและทรัพยากรมนุษย์
  • ระบบประกันคุณภาพ
  • ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร



  •  เอกสารอ้างอิง